จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]
โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น[2] ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด
สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
  1. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
  2. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต.

ประเภท[แก้]

ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานงูออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 18 วงศ์ 443 สกุล ประมาณ 2,700 ชนิด อยู่ในอันดับฐานหรืออันดับย่อย 2 อันดับ ซึ่งจำนวนชนิดนั้นยังไม่แน่ไม่นอน เนื่องจากมีการค้นพบชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี
งูมีขนาดแตกต่างหลากหลายออกกันไปตั้งแต่ยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตรดูแลคล้ายไส้ดินสอดำหรือไส้เดือนดิน จนถึงยาวกว่า 10 เมตร น้ำหนักนับ 100 กิโลกรัม[3]

วิวัฒนาการ[แก้]

งูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมาจาก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในน้ำ อาศัยชีวิตบนบกบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ทางด้านสายของการวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในชั้น Reptilia ที่แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ เต่าชนิดต่าง ๆ (Turtles และ Tortoises)
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ จระเข้ (CrocodilesAlligators และ Gavial)
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ ตัว Tuatara ของนิวซีแลนด์
สามารถแบ่งลำดับของสัตว์เลื้อยคลานใน ลำดับ Squamata ได้ 3 อันดับย่อยด้วยกัน ดังนี้
  1. อันดับย่อย Lacertilia ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งจก (Lizards) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 3,000 ชนิด
  2. อันดับย่อย Amphisbaenia มีจำนวนประมาณ 130 ชนิด
  3. อันดับย่อย Serpentes ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทงู (Snakes) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 2,700 ชนิด

    ลักษณะทั่วไป[แก้]

    ระบบภายนอก[แก้]


    ลักษณะภายนอกของงู
    อวัยวะภายนอก
    ลักษณะภายนอกของงูโดยทั่วไป มีอวัยวะประกอบด้วย [4]
    • ลำตัว งูมีลำตัวที่คล้ายหลอดกลมยาว ไม่มีแขน ขา หรือใบหู ลำตัวมีเกล็ดปกคลุมโดยตลอด
    • ตา งูไม่มีเปลือกตาที่สามารถกะพริบได้เช่นตาคน ดังนั้นจึงดูเสมือนว่ามันไม่เคยนอน แต่จริงๆ แล้วงูนอน ในเวลาที่มันนอน รูตาดำ (pupil) ในตาของมันจะหดตัว พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อที่ควบคุมตาจะหย่อน ทำให้ตางูดูเสมือนว่าพลิกคว่ำ บางชนิดมีสายตาไม่ดี
    • ปาก กล้ามเนื้อในปากสามารถยืด-ขยายได้ ทำให้สามารถอ้าปากได้กว้างกว่าขนาดหัวของมันได้หลายเท่าตัว
    • ลิ้น งูสามารถแลบลิ้นออกมาจากปากที่ปิดสนิทได้ ซึ่งงูมีลิ้น 2 แฉก เพื่อใช้แสวงหาทิศทางของกลิ่นต่าง ๆ
    • หาง หางของงูมีลักษณะที่ลดหลั่นขนาดลงมาจากลำตัว มีลักษณะเล็กกลมยาว ปลายแหลม

    ระบบภายใน[แก้]

    อวัยวะของงูส่วนใหญ่จะอยู่ในซี่โครงยาว ๆ ทั้งระบบการหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์[5]
    โครงสร้างภายใน

    อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของงู 1.หลอดอาหาร 2.หลอดลม 3.ปอดข้างขวา-ข้างซ้าย 4.ปอดข้างซ้าย 5.ปอดข้างขวา 6.หัวใจ 7.ตับ 8.กระเพาะอาหาร 9.ถุงลม 10.ถุงน้ำดี 11.ตับอ่อน 12.ม้าม 13.ลำไส้ 14.ลูกอัณฑะ 15.ไต
    โครงสร้างของกระดูก ประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง ซี่โครง กระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังที่มากช่วยทำให้งู โค้ง หรืองอตัวได้ดี และมีความแข็งแรงสูงทำให้งูสามารถออกแรงบังคับกล้ามเนื้อบีบรัด โครงกระดูกสันหลังจะไม่เชื่อมต่อกับช่องท้อง มันจึงขยายตัวได้ง่ายเมื่อกินเหยื่อขนาดใหญ่
    ระบบหายใจ
    งู หายใจเข้าและออก โดยผ่านปาก และหลอดลม เชื่อมกับปอดที่อยู่ด้านขวาข้างเดียว ยกเว้น พวก Boa และ Python ที่มีปอดซ้ายด้วย ช่วยในการหายใจ โดยปกติงูจะมีปอดขวาที่ใหญ่ โดยเฉพาะพวกงูน้ำ จะมีปอดข้างขวาใหญ่เป็นพิเศษ ช่วยควบคุมการลอยตัวน้ำได้ แต่งูบางสายพันธุ์ที่มีปอดด้านซ้าย ที่เชื่อมต่อกับปอดขวาจะทำให้งูชนิดนั้น เก็บอากาศได้มากว่าปกติ เมื่อต้องขยอกเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถหายใจได้ในเวลานั้น ทำให้มันสามารถกั้นหายใจได้นาน
    ระบบการไหลเวียนโลหิต
    ระบบการไหลเวียนโลหิตของงูเหมือนกับสัตว์ทั่ว ๆ เว้นแต่หัวใจมันมี 3 ห้องแทนที่จะมี 4 ห้อง
    ระบบการย่อยอาหาร
    กระบวนการย่อยอาหารของงูเริ่มจากที่ปาก เมื่องูกินเหยื่อก็จะขับน้ำย่อยออกมา งูบางชนิดที่มีพิษ มันจะขับพิษออกมาฆ่าเหยื่อ ลำคอและหลอดอาหารของมัน มีกล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยขับดัน อาหารไปยังกระเพาะที่มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้ดี ลำไส้ของมันจะมีขนาดใหญ่เป็นคด ๆ อาหารที่ไม่ย่อยจะถูกขับออกมาทางทวาร
    ระบบขับเหงื่อ
    งูไม่มีกระเพาะปัสสวะ ดังนั้นชองเสียจึงถูกกรองผ่านไต และขับกรดปัสสวะออกมา โดยเก็บน้ำใช้ไตกรองน้ำ เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้งูในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้ 2 ประเภท คือ งูมีพิษและงูไม่มีพิษ ซึ่งงูที่มีพิษนั้นมีอยู่ไม่กี่ชนิด ในขณะที่งูไม่มีพิษนั้นสามารถพบได้จำนวนมากกว่า และมีหลายหลายสายพันธุ์ (ในประเทศไทยพบงูประมาณ 300 สายพันธุ์ เป็นงูไม่มีพิษ 90%)
    งูมีพิษในประเทศไทย
    งูมีพิษในประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 7 สายพันธุ์หลักดังนี้
    1. งูจงอาง
    งูจงอาง เป็นงูมีพิษขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวยาว 3-5 เมตร มีพิษร้ายแรงและปริมาณน้ำพิษมาก สามารถกัดคนและสัตว์ทุกชนิดให้ตายได้ในเวลาไม่กี่นาที งูจงอางสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของไทย และเป็นงูประเภทกินงูด้วยกันเป็นอาหาร
    2. งูเห่า
    เป็นงูขนาดกลาง ความยาว 1-2 เมตร ปริมาณน้ำพิษน้อยแต่มีพิษร้ายแรงมาก โดยพิษจะเข้าไปทำลายระบบประสาท ผู้ถูกกัดจะมีอาการง่วงซึม อยากหลับ ถ้าหลับก็จะไม่ตื่นอีกเลย ผู้ที่ถูกงูเห่ากัดถ้าไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว มักจะเสียชีวิตทุกราย งูเห่าเป็นงูที่พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ
    3. งูสามเหลี่ยม
    งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง เป็นงูพิษที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ลำตัวยาว 1-2 เมตร ลำตัวมีลักษณะท้องแบนและเป็นสันด้านหลัง ทำให้มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) พบมากในภาคใต้ของไทย (ภาคอื่นพบไม่มากนัก) กินสัตว์เล็กๆพวก นก หนู กบ เขียด เป็นอาหาร
    4. งูแมวเซา
    เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลักษณะลำตัวอ้วนป้อม ลำตัวสั้น (เมื่อโตเต็มที่จะยาวเพียง 1-1.5 เมตร) เมื่ออยู่ในลักษณะตื่นตัวมันจะสูบลมเข้าไปจนลำตัวพอง ทำเสียงร้องเหมือนแมวและส่งเสียงขู่ตลอดเวลา สามารถฉกกัดได้เร็วมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการเลือดไม่แข็งตัวและเลือดไหลไม่หยุด เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน และเสียชีวิต งูแมวเซาสามารถพบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย
    5. งูกะปะ
    งูกะปะเป็นงูพิษที่พบได้ทุกภาคของไทย โดยเฉพาะในภาคใต้ มีลำตัวอ้วนสั้น คอเล็กแต่หัวโต เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1 เมตรเท่านั้น กินสัตว์เล็กๆพวกนห หนู กบ เขียน เป็นอาหาร จัดเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดของไทย ผู้ที่ถูกกัดจะเกิดอาการบวมไปทั้งตัว เลือดไหลไม่หยุด บริเวณที่ถูกกัดจะบวมเขียวและเน่า และเสียชีวิตในที่สุด
    6. งูเขียวหางไหม้
    งูเขียวหางไหม้ (Green pit viper) จัดเป็นงูพิษชนิดไม่รุนแรง กัดแล้วไม่ตาย พบได้ทั่วไปและมีหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย มีลำตัวอวบสั้น ผิวลำตัวมีสีเขียวอมเหลือง หางสีแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม (เป็นที่มาของชื่อ) เป็นงูที่เคลื่อนไหวช้า มีนิสัยดุร้ายฉกกัดได้เร็ว ผู้ถูกกัดจะเจ็บปวดที่แผลมาก มีอาการบวมอยู่ 2-5 วัน จากนั้นแผลจะยุบและหายเป็นปกติ
    7. งูทะเล
    งูทะเลเป็นกลุ่มงูที่อาศัยอยู่ในทะเล กินปลาเป็นอาหาร และแทบทุกชนิดเป็นงูพิษ สามารถพบได้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย งูทะเลที่พบมากในประเทศไทยคือ งูสมิงทะเลปากดำ ซึ่งเป็นงูทะเลที่มีพิษร้ายแรงมาก พบผู้กัดเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ งูทะเลประเภทอื่นๆที่พบในประเทศไทย เช่น งูผ้าขี้ริ้ว งูคออ่อน งูแสม งูฝักมะรุ
    งูไม่มีพิษในประเทศไทย
    งูไม่มีพิษในประเทศไทยนั้นมีอยู่มากมายประมาณ 300 สายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็ไม่กัดหรือทำอันตรายคน แต่บางสายพันธุ์ก็กัดได้ถ้าถูกรบกวน ตัวอย่างงูไม่ไมีพิษในประเทศไทยได้แก่ งูเขียวชนิดต่างๆ งูปากจิ้งจก งูงวงช้าง งูสิง งูแส้หางม้า งูกระด้าง งูปลิง งูแสงอาทิตย์ งูลายสาบ งูดิน งูก้นขบ งูปล้องชนิดต่างๆ งูทางมะพร้าว งูกินปลา งูเหลือม และงู

    เมื่อถูกงูกัดต้องทำอย่างไร
    ถึงแม้ว่างูในประเทศไทยจะเป็นงูไม่มีพิษเสียเป็นส่วนใหญ่ มีงูพิษอยู่ไม่กี่ชนิด แต่ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องงู ย่อมต้องระมัดระวังเรื่องการโดนงูกัด แต่เมื่อโดนงูกัด สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้
    1. รีบหางูที่กัดให้เจอ จำเป็นต้องตีให้ตายไว้ก่อนเพื่อนำไปให้แพทย์ดู
    2. เค้นเลือดบริเวณที่โดนกัด ให้เลือดจากแผนถูกกัดออกมามากที่สุด (ห้ามใช้ปาดดูดเด็ดขาด)
    3. ใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือแผลที่ถูกกัด เพื่อชะลอไม่ให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจ
    4. รีบพาผู้ถูกกัดไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และพยายามไม่ให้ผู้ถูกกัดหลับ
    5. ห้ามให้ผู้ถูกกัดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น
    วิธีป้องกันการไม่ให้โดนงูกัด
    1. หลีกเลี่ยงการเดินไปที่รกทึบและมืด ถ้าจำเป็นให้ใช้ไม้ยาวๆเคาะนำไปก่อน
    2. หมั่นตัดหญ้าในบริเวณบ้านให้สั้นเตียน เนื่องจากงูไม่ชอบอยู่ในที่โล่ง
    3. นำตาข่ายมาปิดช่องระบายน้ำ เพื่อป้องกันหนูออกมาจากท่อ หนูจะเป็นตัวล่อให้งูเข้าบ้านได้ง่าย
    4. ถ้าจำเป็นต้องเข้าป่าหรือที่รกทึบ ให้ใส่ร้องเท้าหนาๆ หลีกเลี่ยงการยึดจับต้นไม้ กองใบไม้หรือเนินดิน
    โดยธรรมชาติของงูแทบทุกชนิดนั้น จะเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบเผชิญหน้ากับคน มักจะคอยเลื้อยหนีอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายทำให้เขาตกใจหรือเดินไปเหยียบงูเข้า งูจะฉกกัดทันที ซึ่งเป็นสัญชาตญาณการป้องกันตัวของงูนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น