จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

ไอแซก นิวตัน
Sir Isaac Newton
ไอแซก นิวตัน : Sir Isaac Newton
เกิด วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 เมืองลินคอร์นเชียร์ (Lincohnshire) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน
– ตั้งกฎแรงดึงดูดของโลก
– ตั้งกฎเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
– ตั้งทฤษฎีแคลคูลัส (Calculus)
– ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
– ค้นพบสมบัติของแสงที่ว่า แสงสีขาวประกอบขึ้นจากแสงสีรุ้ง
ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วและจะกล่าวต่อไป นิวตันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะคนหนึ่งเลยทีเดียว แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้มีความสามารถอย่างไอน์สไตน์ก็ได้รับการยกย่องให้ฉลาดเท่ากับนิวตัน นั่นคือการแสดงให้เห็นว่าเขาคืออัจฉริยะคนหนึ่งของโลก
การที่เขาได้รับการยกย่องเช่นนี้ เนื่องจากเขาได้ค้นพบและตั้งกฎอันยิ่งใหญ่ไว้หลายกฎ การค้นพบที่ได้รับการยกย่องและทำให้คนรู้จักเขามากที่สุดก็คือกฎแรงดึงดูดของโลก ซึ่งเขาค้นพบในขณะที่มีอายุเพียง 20 ปีกว่า เท่านั้น
นิวตันเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 ที่หมู่บ้านวูลสธอร์พ (Woolsthorpe) เมืองลินคอร์นเชียร์ ประเทศอังกฤษบิดาของเขาเป็นเจ้าของที่ดินเล็ก ๆ แปลงหนึ่ง ซึ่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิดประมาณ 3 เดือน ทำให้เขาเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่ก่อนลืมตามองโลกเสียอีก โชคร้ายของนิวตันไม่หมดเพียงเท่านั้นเนื่องจากเขาคลอดก่อนกำหนด ทำให้สุขภาพอ่อนแอ อีกทั้งตัวก็เล็กมาก และอาจจะเสียชีวิตได้ แต่ถึงอย่างนั้นนิวตันก็รอดชีวิตมาสร้างคุณประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับวงการวิทยาศาสตร์และมนุษยชาติเมื่อนิวตันรอดชีวิตมาได้ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระให้กับฮานนา เอสคอช นิวตัน (Hannah Ayscough Newton) มารดาของเขาในการเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 2 ปี มารดาของเขาได้แต่งงานใหม่กับบานาบาส สมิธ (Barnabas Smith) ซึ่งมีอาชีพเป็นนักบวช และมีรายได้มากพอที่จะเลี้ยงมารดาและนิวตันได้อย่างสบาย อีกทั้งบานาบาสยินดีที่จะจ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับนิวตันอีกถึงปีละ 50 ปอนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้พ่อของนิวตันเก็บค่าเช่าได้เพียงปีละ 30 ปอนด์ เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นญาติทางฝ่ายบิดาก็ยังเกลียด บานาบาส ทำให้มารดาของนิวตันต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น ส่วนนิวตันก็ต้องไปอยู่ในความอุปการะของญาติทางฝ่ายบิดาของเขา
การศึกษาของนิวตันเริ่มต้นที่บ้านเกิดของเขานั่นเอง เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี จึงได้เดินทางไปยังเมืองแกรนแธม (Grantham) เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนคิงส์ (King’s School) ในระหว่างนี้นิวตันได้ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวคลาค ซึ่งมาดามคลาคเป็นเพื่อนสนิทของแม่ของนิวตัน ด้วยความที่นิวตันเป็นคนเก็บตัวไม่ชอบสุงสิงกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เวลาว่างส่วนใหญ่เขาจึงใช้ไปกับการอ่านหนังสือ ค้นคว้า และประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ และเป็นเรื่องโชคดีของนิวตันที่มิสเตอร์คลาคเป็นนักสะสมขวดสารเคมี และหนังสือ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้นิวตันมีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เขาชอบนิวตันได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนคิงส์
4 ปี เท่านั้น ก็ต้องกลับบ้านเกิดของเขา เพราะบานาบาสพ่อเลี้ยงของเขาเสียชีวิต พร้อมกับทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ให้กับแม่เขาจำนวนหนึ่ง
ดังนั้นแม่ของนิวตันจึงต้องการกลับไปทำฟาร์มอีกครั้งหนึ่ง และขอร้องให้นิวตันไปช่วยงานในฟาร์มด้วย แต่นิวตันไม่ชอบทำงานในฟาร์ม เขาไม่เคยสนใจหรือเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงของเขาแม้แต่น้อย เขายังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการอ่านหนังสือ และประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ซึ่งระหว่างนี้นิวตันได้ประดิษฐ์นาฬิกากันแดด (Sun Dial) นอกจากนี้เขายังชอบนั่งมองดูดาวบนท้องฟ้าเพื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวเหล่านั้น
นิวตันทำงานในฟาร์มได้เพียง 1 ปี เท่านั้น มิสเตอร์สโตกส์ (Mr. Stokes) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของแม่ และเป็นครูของเขาได้มาบอกกับแม่ของเขาว่านิวตันเป็นคนฉลาดและมีความสามารถ ไม่ควรจะให้ทำงานในฟาร์มนี้ต่อไป ควรส่งนิวตันไปเรียนต่อที่โรงเรียนคิงส์ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยอีกทั้งน้าของนิวตัน วิลเลี่ยม แอสคอช (William Ayscough) ซึ่งเป็นนักบวช ก็เห็นดีในข้อนี้ เมื่อทั้งสองช่วยกันพูด แม่ของเขาจึงได้ส่งนิวตันไปเรียนต่อที่โรงเรียนคิงส์ หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนคิงส์ นิวตันได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยตรินิตี้ (Trinity College) ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University)
ในปี ค.ศ. 1664 เกิดกาฬโรคระบาดในกรุงลอนดอน ซึ่งได้แพร่ระบาดเข้ามาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ด้วย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงต้องหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 8 เดือน เพื่อป้องกันการติดโรค นิวตันจึงเดินทางกลับบ้าน และถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของนิวตันในการศึกษาค้นคว้าและทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งนิวตันสามารถค้นพบทฤษฎีสำคัญ ๆ ถึง 3 ทฤษฎี ด้วยความที่นิวตันชอบวิชาดาราศาสตร์ เขาตั้งใจจะประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์เลียนแบบของกาลิเลโอขึ้นด้วยตัวเอง เพื่อจะได้ส่องดูดวงดาวได้ชัดเจน ตามที่เขาต้องการ ทำให้เขาได้พบสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ทฤษฎีเกี่ยวกับแสงซึ่งเป็นทฤษฎีบทแรกของเขา
ในขณะที่นิวตันกำลังฝนเลนส์ เขาสังเกตเห็นว่ามีสีรุ้งปรากฏอยู่บริเวณขอบเลนส์ เขาพยายามฝนเลนส์เพื่อให้แสงสีรุ้งที่ขอบเลนส์หายไป แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ในที่สุดเขาจึงเปลี่ยนมาใช้กระจกเงาเว้าหรือกระจกเงารวมแสง แทนเลนส์วัตถุ ส่วนเลนส์ตายังคงใช้เลนส์นูนตามเดิมกล้องโทรทรรศน์ของนิวตันชนิดนี้เป็นต้นแบบของกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงในปัจจุบัน นิวตันได้นำกล้องโทรทรรศน์ของเขาไปเสนอกับทางสมาคมวิทยาศาสตร์ ซึ่งทางสมาคมก็ยอมรับรองผลงานของนิวตันชิ้นนี้ และจากผลงานชิ้นนี้เองเมื่อมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เปิดทำการอีกครั้งหนึ่งนิวตันได้รับเชิญเข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1667 และต่อมาอีก 4 ปี นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาคณิตศาสตร์ และปีต่อมานิวตันก็ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์
การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ครั้งนี้ยังทำให้เขาค้นพบสมบัติของแสง นิวตันได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับแสงโดยการปิดห้องจนมืดสนิทให้แสงรอดผ่านเข้ามาทางช่องเล็ก แล้วใช้แท่งแก้วสามเหลี่ยม หรือที่เรียกว่าปริซึม (Prism) รับแสงให้แสงผ่านแท่งแก้วปริซึม ผลปรากฏว่าแสงที่ผ่านปริซึมมีถึง 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ตามลำดับ นิวตันได้ทดลองซ้ำอีกหลายครั้ง ซึ่งผลออกมาเหมือนกับหมดทุกครั้ง ต่อมานิวตันได้ทดลองเพิ่มเติม โดยการใช้ปริซึมเพิ่มขึ้นอีก 1 อัน ให้แสงผ่านปริซึม 2 อัน ผลปรากฏว่าแสงกลายเป็นสีขาวเหมือนกับที่ผ่านเข้ามาในครั้งแรก จากผลการทดลองนิวตันสามารถสรุปได้ว่าแสงอาทิตย์ประกอบไปด้วยแสงสี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ตามลำดับ และเมื่อแสงทั้ง 7 รวมกันก็จะกลายเป็นแสงสีขาว
ทฤษฎีบทต่อมาที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุด คือ การค้นพบกฎแรงดึงดูดของโลก (Law of Gravitation) นิวตันได้ค้นพบทฤษฎีโดยบังเอิญ เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันหนึ่งขณะที่นิวตันกำลังนั่งดูดวงจันทร์ แล้วก็เกิดความสงสัยว่าทำไมดวงจันทร์จึงต้องหมุนรอบโลก ในระหว่างที่เขากำลังนั่งมองดวงจันทร์อยู่เพลิน ๆ ก็ได้ยินเสียงแอปเปิ้ลตกลงพื้น เมื่อนิวตันเห็นเช่นนั้นก็ให้เกิดความสงสัยมากขึ้นไปอีกว่า ทำไมวัตถุต่าง ๆ จึงต้องตกลงสู่พื้นดินเสมอทำไมไม่ลอยขึ้นฟ้าบ้าง ซึ่งนิวตันคิดว่าต้องมีแรงอะไร สักอย่างที่ทำให้แอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน จากความสงสัยข้อนี้เอง นิวตันจึงเริ่มการทดลองเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลก การทดลองขั้น
แรกของนิวตัน คือ การนำก้อนหินมาผูกเชือก จากนั้นก็แกว่งไปรอบ ๆ นิวตันสรุปจากการทดลองครั้งนี้ว่าเชือกเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ก้อนหินแกว่งไปมารอบ ๆ ไม่หลุดลอยไป ดังนั้นสาเหตุที่โลก ดาวเคราะห์ ต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ต้องหมุนรอบโลกต้องเกิดจากแรงดึงดูดที่ดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก และดาวเคราะห์ และแรงดึงดูดของโลกที่ส่งผลต่อดวงจันทร์ รวมถึงสาเหตุที่แอปเปิ้ลตกลงพื้นดินด้วยก็เกิดจากแรงดึงดูดของโลกด้วย นอกจากกฎแห่งแรงดึงดูดของโลก นิวตันยังตั้งกฎเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุไว้ทั้งหมด 3 ข้อ
1. วัตถุจะอยู่ในสภาพคงที่หรือเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่มีแรงจากภายนอกมากระทำต่อวัตถุนั้น
2. เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธ์และขนาดของความเร่งนี้จะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์และแปรผกผันกับมวลของวัตถุนั้น
3. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาจะเท่ากันเสมอ หมายถึง เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุนั้นเท่าใด ก็จะเกิดแรงปฏิกิริยาโต้ตอบในทิศทางตรงกันข้ามเท่ากัน
นิวตันได้ค้นพบกฎเกี่ยวกับแรงดึงดูดของโลกแต่ก็มิได้ตีพิมพ์เผยแพร่ จนกระทั่งวันหนึ่งเอ็ดมันต์ ฮัลเลย์ (Edmund Halley) นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับแรงดึงดูดเช่นกัน ได้เดินทางมาพบกับนิวตัน เพื่อซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับแรงดึงดูด ซึ่งนิวตันสามารถตอบข้อสงสัยของฮัลเลย์ได้ทั้งหมด ทำให้ฮัลเลย์รู้สึกโกรธแค้นที่นิวตันสามารถค้นพบกฎแห่งแรงดึงดูดได้ก่อนเขา ดังนั้นเขาจึงกล่าวหานิวตันว่าขโมยความคิดของเขาไป เพื่อน ๆ และลูกศิษย์ของนิวตันจึงบอกให้นิวตันนำผลงานของเขาออกเผยแพร่ลงในหนังสือ
หลุยส์ ปาสเตอร์
(Louis Pasteur)
  หลุยส์ ปาสเตอร์ ( Louis Pasteur ) เป็นที่รู้จักจากผลงาน จุลชีววิทยา และ เคมี
จากวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ (พาสเจอร์ไรเซซัน pasteurization) , วัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า , ค้นพบ
สาเหตุของการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์
หลุยส์ ปาสเตอร์ ( Louis Pasteur )
- หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1811 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura)
 ประเทศฝรั่งเศส (France)
 - เคยทำงานอยู่ที่
  • Dijon Lycee
  • University of Strasbourg
  • Lille University of Science and Technology
  • Ecole Normale Superieure

 - การศึกษา Ecole Normale Superieure
 - หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้ช่วยพัฒนาในด้าน การแพทย์และเคมี โดยเฉพาะ
ผลงานที่สร้างชื่อให้แก่เขาทั้ง 3 อย่างทำให้ วงการแพทย์และชีววิทยานั้นก้าวหน้าไปได้
อย่างมาก
1. วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า  : เป็นโรคที่ทำให้คนตายไปพอสมควรและจากการพบวัคซีนนี้ทำให้
ค้นพบวัคซียรักษาโรค อีกมากมายเช่น อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อ
วงการแพทย์เป็นอย่างมาก
2.จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
3. วิธีการพาสเจอร์ไรซ์   คือกระบวนการทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดเพื่อป้องกันการเจริญของ
เชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น สำหรับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อนี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับ
น้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ
 - บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า  ฌองโจเซฟ ปาสเตอร์ เคยเป็นทหารผ่านศึกสมัยจักรพรรดิ
นโปเลียน ฐานะของครอบครัวไม่ดีนัก เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกที่จังหวัดอาร์บัวส์ มีความถนัด
ทางด้านวิทยาศาสตร์นอกจากนี้เขายังมีความสามารถพิเศษในการวาดรูปอีกด้วย
- หลุยส์ ปาสเตอร์ ค้นพบว่าจุลินทรีย์ส่งผลเสียมากมายทำให้เขาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์
อย่างต่อเนื่อง และต้องการจะห๋าพวกมันให้หมด จนสามารถค้นพบวิธีการทำพาสเจอร์ไรซ์
โดยการผ่านความร้อน เพื่อทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) รวมทั้งจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่
ทำให้อาหารเสียโดยใช้ความร้อนในอุณหภูมิระหว่าง 60 - 80 องศาเซลเซียส ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้
จุลินทรีย์ไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ต้องเก็บอาหารไว้ในที่เย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 7.2
องศาเซลเซียส
- หลุยส์ ปาสเตอร์ ค้นพบวิธีรักษาโรคพิษสุนัขบ้าจากการเพาะเชื้อวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์
ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี ต่อมามีเด็กโดนสุนัขกัด พ่อกับแม่ของเด็กเห้นว่าไม่น่าจะรอดจึงลองเอา
มาให้ หลุยส์ ปาสเตอร์ รักษาดู เขาทดลองวัคซีนกับเด็กคนนั้นปรากฏว่าเด็กน้อยผู้นั้นไม่เป็นอะไร
ไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ทำให้การค้นพบครั้งนั้นของเขาเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นไปอีก
- ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศ
ฝรั่งเศส จากนั้นสถาบันปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงใน
ประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา กำเนิด สถานเสาวภา 'ฉีดวัคซีนป้องกัน
พิษสุนัขบ้าแห่งแรกในไทย
 - รางวัลที่ หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ คือ
  • Rumford Medal (1856, 1892)
  • Copley Medal (1874)
  • Albert Medal (1882)
  • Leeuwenhoek Medal (1895)

 - นับเป็นอีกครั้งนึงที่มีการพัฒนาของวงการแพทย์ที่ พัฒนามาตลอดตั้งแต่ ฮิปโปเครตีส บิดา
แห่งวิชาการแพทย์ปัจจุบัน เริ่มต้นการรักษาที่มีแบบแผนขึ้น การค้นพบของ หลุยส์ ปาสเตอร์ ก็
เป็นอีกครั้งนึงที่สนับสนุนและนำไปสู่การพัฒนาการรักษาโรคต่อไป
 - หลุยส์ ปาสเตอร์ เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 Marnes-la-Coquette, ประเทศฝรั่งเศส
 (France) ในอายุ 72 ปี