จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์ Canis lupus familiaris หรือ Canis familiaris)[2] เป็นสัตว์มีเขี้ยวชนิดเชื่องทีถูกคัดเลือกผสมพันธุ์มาเป็นเวลาพันปีจนมีพฤติกรรม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส และลักษณะทางกายภาพที่หลากหลาย[3]
แม้ว่าเดิมทีจะคิดกันว่าหมามีต้นกำเนิดจากสายพันธุ์สัตว์มีเขี้ยวที่หลากหลาย (บ้างมองว่าเป็นหมาใน[4] หมาจิ้งจอกทอง[5] และหมาป่า[6]) มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์เพิ่มเติมในคริสต์ทศวรรษ 2010 ชี้ว่าหมาเริ่มแตกต่างจากสัตว์มีเขี้ยวคล้ายหมาป่าในยูเรเชียเมื่อ 40,000 ปีที่แล้ว[7] เนื่องจากเป็นสัตว์เชื่องที่เก่าแก่ที่สุด การอยู่ร่วมกับมนุษย์มาเป็นเวลานานทำให้หมามีพฤติกรรมที่ปรับเข้ากับมนุษย์ได้ดี รวมถึงสามารถเติบโตได้โดยกินอาหารประเภทแป้งซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อสัตว์มีเขี้ยวชนิดอื่น[8]

บรรพบุรุษ และที่มาของความเชื่อง[แก้]

วิวัฒนาการด้านโมเลกุลของหมาชี้ให้เห็นว่าหมาเลี้ยงนั้น (Canis lupus familiaris) สืบทอดมาจากจำนวนประชากรหมาป่า (Canis lupus) เพียงตัวเดียวหรือหลายตัว สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อพวกมัน หมาสืบทอดจากหมาป่าและหมาธรรมดาสามารถผสมข้ามพันธุ์กับหมาป่าได้ด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหมานั้นถูกฝังลึกในด้านโบราณคดีและหลักฐานที่ตรงกันชี้ให้เห็นช่วงเวลาของการทำให้หมาเชื่องในยุคหินใหม่ ใกล้ ๆ กับขอบเขตของช่วงเพลสโตซีนและโฮโลซีน ในระหว่าง 17,000 - 14,000 ปีมาแล้ว ซากกระดูกฟอสซิลและการวิเคราะห์ยีนของหมาในยุคอดีตกับปัจจุบัน และประชากรหมาป่ายังไม่ถูกค้นพบ หมาทั้งหมดสืบอายุอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่องด้วยตัวเองหรือไม่ก็ได้ถูกทำให้เชื่องด้วยตัวมันเองในพื้นที่มากกว่าหนึ่งพื้นที่ หมาที่ถูกเลี้ยงให้เชื่องแล้วอาจจะผสมข้ามพันธุ์กับประชากรหมาป่าที่อยู่ในถิ่นนั้น ๆ ในหลาย ๆ โอกาส กระบวนการนี้รู้จักในทางทางพันธุศาสตร์ว่า อินโทรเกรสชัน(Introgression)
ในยุคแรก ๆ ฟอสซิลหมา กะโหลก 2 จากรัสเซียและขากรรไกรล่างจากเยอรมนี พบเมื่อ 13,000 ถึง 17,000 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมันเป็นหมาป่าโฮลาร์กติก(Canis lupus lupus) ซากศพของหมาตัวเล็กจากถ้ำของสมัยวัฒนธรรมนาทูเฟียนของยุคหินได้ถูกเก็บไว้ในแถบตะวันออกกลาง มีอายุราว 12,000 ปีมาแล้ว เข้าใจว่าเป็นทายาทมาจากหมาป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพศิลปะบนหินและซากกระดูกชี้ให้เห็นว่า เป็นเวลากว่า 14,000 ปีมาแล้วที่หมาในที่นี้กำเนิดจากแอฟริกาเหนือข้ามยูเรเชียไปถึงอเมริกาเหนือ หลุมฝังศพหมาที่สุสานยุคหินของเมืองสแวร์ดบอร์กในประเทศเดนมาร์กทำให้นึกไปถึงในยุคยุโรปโบราณว่าหมามีค่าเป็นถึงเพื่อนร่วมทางของมนุษย์
การวิเคราะห์ทางยีนได้ให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เหมือนกันมาจนถึงทุกวันนี้ วิล่า ซาโวไลเนน และเพื่อนร่วมงาน พ.ศ. 2540 สรุปว่าบรรพบุรุษของหมาได้แยกออกจากหมาป่าชนิดอื่น ๆ มาเป็นเวลาระหว่าง 75,000 ถึง 135,000 ปีมาแล้ว เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ตามมาโดยซาโวไลเนน พ.ศ. 2545 ชี้ให้เห็น เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมจากกลุ่มยีนสำหรับประชากรหมาทั้งหมด ระหว่าง 40,000 ถึง 15,000 ปีมาแล้ว ในเอเชียตะวันออก เวอร์จีเนลลี่ พ.ศ. 2548 แนะนำว่าอย่างไรก็ดี ช่วงเวลาของทั้งคู่จะต้องถูกประเมินผลอีกครั้งในการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า นาฬิกาโมเลกุลแบบเก่าที่ใช้วัดเวลานั้นได้กะเวลายุคสมัยของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเกินความจริง โดยในความจริง และในการเห็นพ้องกันว่าด้วยเรื่องหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเวลาเพียง 15,000 ปีเท่านั้นที่ควรจะเป็นช่วงชีวิตสำหรับความหลากหลายของของหมาหมาป่า
สหภาพโซเวียตเคยพยายามนำหมาจิ้งจอกมาเลี้ยงให้เชื่อง เช่นในหมาจิ้งจอกเงิน และสามารถนำมันมาเลี้ยงได้เพียงแค่ 9 ชั่วอายุของมันหรือน้อยกว่าอายุขัยของมนุษย์ นี่ยังเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่น สี ที่จะกลายเป็นสีดำ สีขาว หรือสีดำปนขาว พวกมันได้พัฒนาความสามารถในการขยายพันธุ์ตลอดปี หางที่โค้งงอมากขึ้น และหูที่ดูเหี่ยวย่นเหมือน อวัยวะเพศชาย

ชีววิทยา[แก้]

กายวิภาคศาสตร์[แก้]

หมาถูกคัดเลือกผสมพันธุ์มาเป็นเวลาพันปีเพื่อให้มีพฤติกรรมหลากหลาย การรับรู้ความรู้สึก และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน[3] หมาสายพันธุ์ต่าง ๆ ในสมัยใหม่มีขนาด รูปร่าง และพฤติกรรมหลากหลายกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น[3] หมาเป็นทั้งนักล่าและสัตว์กินซาก และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกข้อเท้าเชื่อมกัน และระบบหมุนเวียนเลือดที่ช่วยในการวิ่งและความอดทน และมีฟันที่ใช้จับและฉีกให้ขาด เช่นเดียวกัยสัตว์นักล่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น

ขนาดและส่วนสูง[แก้]

หมามีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกัน หมาตัวเล็กที่สุดที่รู้จักกันคือหมาพันธุ์ยอร์กเชอร์เทร์เรียร์ เมื่อยืนอยู่จะสูง 6.3 เซนติเมตร ยาว 9.5 เซนติเมตร ตลอดทั้งหัวและลำตัว และหนัก 113 กรัม หมาตัวใหญ่ที่สุดที่รู้จักคือหมาพันธุ์อิงลิชมาสติฟ หนัก 155.6 กิโลกรัม และความยาวจากจมูกถึงหาง 250 เซนติเมตร[9] หมาที่สูงที่สุดคือหมาพันธุ์เกรตเดน เมื่อยืนอยู่สูง 106.7 เซนติเมตร[10]

ประสาทสัมผัส[แก้]

ประสาทสัมผัสของหมา ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรู้รสชาติ การสัมผัสและการตอบสนองไวต่อสนามแม่เหล็กของโลก

หาง[แก้]

หมามีหางหลายรูปร่าง ได้แก่ ตรง ตรงตั้งขึ้น โค้งคล้ายเคียว ม้วนเป็นวง หรือหมุนเป็นเกลียว หน้าที่หลักของหางหมาคือสื่อสารอารมณ์ของมัน เป็นสิ่งสำคัญกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในหมานักล่าบางตัวถูกกุดหางเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ[11] หมาบางสายพันธุ์ เช่น Braque du Bourbonnais ลูกหมาอาจเกิดมามีหางสั้นหรือไม่มีหางเลยก็ได้[12]

สุขภาพ[แก้]

พืชที่ปลูกตามบ้านเรือนหลายชนิดเป็นพิษกับร่างกายของหมา เช่น ต้นคริสต์มาส เบโกเนีย และว่านหางจระเข้[13]
หมาบางสายพันธุ์มีแนวโน้มเจ็บป่วยเป็นโรคบางโรค เช่น ศอกและสะโพกเจริญผิดปกติ ตาบอด หูหนวก หลอดเลือดแดงตีบ ปากแหว่งเพดานโหว่ และกระดูกสะบ้าเคลื่อน

สติปัญญาและพฤติกรรม[แก้]

หมาแต่ละตัวและแต่ละสายพันธุ์ มีสัญชาตญาณของตนเอง นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลง จากหมาป่ามาเป็นหมาเลี้ยง ได้มีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์หมาสืบทอดกันมามากกว่า 4,000 ชั่วอายุ ทำให้ลักษณะร่างกายของหมาหลายสายพันธุ์ เปลี่ยนแปลงไปจากบรรพบุรุษของพวกมันอย่างมาก แต่หมาแต่ละสายพันธุ์ยังคงรักษาลักษณะพฤติกรรมของหมาป่าที่มันเคยเป็นไว้ได้ไม่มากก็น้อย ทั้งหมาป่าและหมาเลี้ยงมีวิธีสื่อสารโดยการเห่า การใช้ภาษากาย และสัญชาตญาณในการรวมกลุ่ม ทั้งนี้หมามีพฤติกรรมให้การสร้างอาณาเขตของมัน เช่น การฉี่รดตามที่ต่าง ๆ เพื่อบอกว่าตรงนี้เป็นเจ้าของ และการเดินเป็นวงกลมก่อนนอนเพื่อกระจายกลิ่นตัวไปรอบ ๆ และกำหนดอาณาเขตไม่ให้สัตว์ตัวอื่นเข้ามารบกวน  แม้หมาพันธุ์คอร์กี้ จะเป็นหมาตัวเตี้ย ขาสั้น รูปร่างดูไม่สมส่วนและสมาร์ทเหมือนหมาพันธุ์อื่น ๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่าความแปลกที่เป็นเอกลักษณ์แบบนี้แหละ ที่ทำให้ทาสหมายิ่งดูยิ่งรู้สึกว่าน่ารัก 

         เจ้าตูบพันธุ์คอร์กี้ดูแล้วอาจจะเป็นหมาที่มีรูปร่างที่ไม่ค่อยสง่างามเหมือนหมาตัวสูงใหญ่ ขายาว เช่น ไซบีเรียน ฮัสกี้ หรือ เยอรมันเชพเพิร์ด เพราะพวกมันมีลำตัวยาวแต่ขากลับสั้นนิดเดียว แต่ขาสั้น ๆ รวมถึงตากลมแป๋ว หูยาวตั้งเหมือนกระต่าย และนิสัยที่ชาญฉลาดนี่แหละ ที่ทำให้เหล่าทาสหมาตกหลุมรัก สำหรับสาวกหมาขาสั้นที่ชอบหมาพันธุ์นี้ กระปุกดอทคอมก็ได้สรรหาและรวบรวมอินสตาแกรมไว้ให้ตามไปกดฟอลโลกันแล้ว   



1. วอลลี่ (Wally)

         หมาคอร์กี้จากรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐฯ มีคนติดตามบนอินสตาแกรมเกือบแสน ไม่ว่าเทศกาลไหน ๆ เจ้าวอลลี่ก็ไม่ตกเทรนด์ แต่งตัวถ่ายรูปให้แฟน ๆ ได้กดไลค์เสมอ อีกทั้งเจ้าวอลลี่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมคอร์กี้แห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ซะด้วย

คอร์กี้

คอร์กี้

คอร์กี้

2. ฟ็อกซี่ (Foxy)

         คอร์กี้จากฟินแลนด์ที่มาพร้อมกับคิ้ว และก็เป็นคิ้วที่เจ้าฟ็อกซี่ได้มาตั้งแต่เกิด ไม่ได้ถูกเขียนหรือสักแต่อย่างใด โดยเหนือตาทั้งสองข้างของเจ้าฟ็อกซี่มีจุดเล็ก ๆ สีดำ จึงทำให้ดูแล้วคล้ายกับคิ้วนั่นเอง


3. โมชิ


         เนื่องด้วยเจ้าโมชิมีขนาดตัวที่เล็กกว่าปกติมันจึงถูกเรียกว่ากระต่ายน้อยอยู่บ่อย ๆ แต่ถึงแม้จะตัวเล็ก แต่เจ้าโมชินั้นมีพลังเหลือล้น วิ่งซนได้ทั้งวัน กิจกรรมโปรดของมันก็คือ การนอนอาบแดดอุ่น ๆ และเดินรับลมเล่นที่ท่าเรือใกล้บ้านของมันนั่นเอง    


4. นโปเลียน

         เจ้าหมาคอร์กี้ชื่อแปลกแต่ความน่ารักไม่เป็นสองรองใคร มีคนติดตามมันบนอินสตาแกรมกว่า 4 หมื่นคน นอกจากนี้เจ้านโปเลียนยังมีแชนแนลยูทูบสอนทริคเด็ด ๆ สำหรับฝึกหมาให้ดูกันด้วย  


5. รอสโค

         ถ้าพูดถึงคอร์กี้ที่เป็นมิตรและใจดี ต้องมีชื่อของเจ้ารอสโคอยู่ในนั้นแน่นอน เจ้ารอสโคอาศัยอยู่กับเจ้านายและเม่นแคระนามว่ามีทบอล ซึ่งเจ้ารอสโคก็ชอบเล่นกับเจ้ามีทบอลมาก ไม่เห่าหรือทำร้ายเจ้าเม่นแคระเลย


6. คูเปอร์

         เจ้าคูเปอร์เป็นคอร์กี้ที่แอ็คทีฟและชอบเล่นสุด ๆ เวลามีคนเรียกชื่อมันจะตอบสนองได้อย่างดีเยี่ยม โดยมันจะเด้งตัวขึ้นมา ถึงแม้ว่าตอนนั้นมันจะกำลังนอนกอดตุ๊กตาตัวโปรดของมันอยู่ก็ตาม  


7. แฮมมี่ & แพนด้า

         เจ้าแฮมมี่และเจ้าแพนด้าเป็นพี่น้องคอกเดียวกันที่เพิ่งลืมตามาดูโลกได้ไม่กี่เดือน ถึงแม้อายุยังน้อยแต่ความซนของพี่น้องคู่นี้กลับพุ่งสูงแตะเพดาน เวลาที่เจ้านายของพวกมันออกไปนอกบ้าน กลับมาทีไรมักจะเจอบ้านเละเทะเกือบทุกครั้ง


8. แอ็บบี้

         ถึงแม้ว่าเจ้าแอ็บบี้จะมีขนที่ยาวและฟูกว่าคอร์กี้ทั่ว ๆ ไปแต่ยืนยันได้ 100% ว่ามันเป็นคอร์กี้สายพันธุ์แท้แน่นอน และสิ่งที่เจ้าแอ็บบี้โปรดปรานที่สุดคงจะหนีไม่พ้น การได้เจอหน้าเจ้านายอีกคนของมันที่เป็นทหารประจำการที่ต่างประเทศนั่นเอง 


9. วินสตัน

         เจ้าวินสตันเป็นหมาคอร์กี้ที่ชอบกินผลไม้เป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะแตงโมถือเป็นผลไม้โปรดของเจ้าวินสตันเลยก็ว่าได้  และเนื่องจากมันมีอายุได้แค่ 1 เดือนเท่านั้น ไม่ว่าจะเจออะไรมันก็จะตื่นเต้นไปหมด ไม่ว่าจะเป็นขนมหรือหางของมันเองก็ตาม  


10. ลิโล


         คอร์กี้ตัวน้อยอายุ 3 เดือน จากจาการ์ตา มีนิสัยร่าเริงและชอบยิ้มที่สุด เห็นได้จากรูปในอินสตาแกรม จะมีรูปของเจ้าลิโลที่มักจะยิ้มอย่างมีความสุขเกือบทุกรูป ความน่ารักของมันกระแทกใจทาสหมาอย่างจัง เปิดอินสตาแกรมได้แค่ 3 สัปดาห์แต่มีคนติดตามหลายพันเลยทีเดียว 

         เห็นไหมล่ะว่าแม้ คอร์กี้ จะเป็นหมาขาสั้น ตัวเล็ก แต่มีเสน่ห์และออร่าความน่ารักพุ่งกระจายเลยทีเดียว แถมดูจากความซนแล้ว ความฉลาดของหมาพันธุ์นี้น่าจะไม่เป็นสองรองใคร หากเหงาก็เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนได้นะคะ 

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

เสือ

เสือ (อังกฤษbig cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่า[1]และอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม[2] รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย[3]
เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง [4]
ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที่สุดเสือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่าและทุ่งหญ้า ส่วนใหญ่ไม่ชอบน้ำเช่นเดียวกับแมวทั่วไป มีเพียงเสือโคร่ง[5]และเสือจากัวร์เท่านั้นที่ชอบน้ำ[6] ยิ่งกว่านั้นสถานที่ที่พบเสือโคร่งบ่อยที่สุดมักจะเป็นแอ่งน้ำ ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เสือเป็นสัตว์ที่หากินโดยลำพัง อาหารหลักมักจะเป็นสัตว์กินพืชขนาดกลางอย่างเช่น กวาง หมูป่า และควาย ซึ่งจะล่าเหยื่อด้วยวิธีการเดิน ย่อง วิ่งไล่และตะครุบเหยื่อ อย่างไรก็ตามพวกมันอาจจะออกล่าสัตว์ที่ขนาดใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าในสถานการณ์ที่คับขัน
เสือมีลักษณะพิเศษคือสามารถซ่อนเล็บไว้ในปลายนิ้วเท้าได้ เมื่อต้องการจับยึดเหยื่อจะกางเล็บเท้าหน้าออก ส่วนเล็บเท้าด้านหลังจะใช้เป็นอาวุธสำหรับฉีกกระชากเหยื่อ และในขณะที่เสือวิ่งเล็บเท้าหลังจะช่วยยึดเกาะ ทำให้สามารถตะกุยพื้นเร่งความเร็วได้เร็วขึ้น นอกจากนี้วิธีการหดซ่อนเล็บของเสือยังเป็นวิธีการรักษาความแหลมคมของเล็บไว้ เพื่อป้องกันการขูดขีดขณะเดินหรือเคลื่อนไหวตามปกติ ศัตรูเพียงชนิดเดียวของเสือก็คือมนุษย์ ปัจจุบันเสือถูกล่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อนำไปทำเสื้อขนสัตว์ และเป็นความเชื่อในการทำยาบำรุงกำลังของผู้ชาย
จากความเสียหายของถิ่นที่อยู่ รวมทั้งการล่าเพื่อทำหนังขนสัตว์ จำนวนเสือตามธรรมชาติจึงลดน้อยลง เสือจึงเป็นสัตว์ที่อยู่รายการสปีชีส์ที่กำลังอยู่ในอันตราย เสือเป็นหนึ่งในสัตว์ที่อยู่ในระดับเหนือสุดของห่วงโซ่อาหาร เพราะการสูญสิ้นหรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วของเสือ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศทั้งหมด การสูญพันธุ์ของสัตว์กินเนื้อเพียงหนึ่งหรือสองชนิด จะทำให้กลุ่มของสัตว์กินพืชเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งธรรมชาติเสียความสมดุล ปัจจุบันได้มีมาตรการคุ้มครองสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะสัตว์ในกลุ่มเสือให้รอดพ้นจากการล่าของมนุษย์ เพื่อให้สัตว์กินเนื้อเหล่านี้ไม่สูญพันธุ์ไปจนหมดสัตว์ในกลุ่มเสือซึ่งหมายรวมถึงเสือและแมวทุกชนิด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสิ่งที่มีชีวิตในวงศ์ฟิลิดี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมซึ่งมีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย มีปอดไว้สำหรับหายใจ หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเมียมีเต้านมและน้ำนมไว้สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน ซึ่งส่วนใหญ่การปฏิสนธิและเจริญเติบโตของลูกอ่อน จะเกิดขึ้นภายในมดลูกของตัวเมีย มีเขี้ยวที่ใช้ฆ่าเหยื่อ มีฟันกรามที่คมเหมือนมีดไว้สำหรับตัดเนื้อ ซึ่งพัฒนามาจากฟันกรามที่ทำหน้าที่สำหรับบดเคี้ยว มีข้อต่อสำหรับกระดูกสันหลังที่ยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง การเร่งความเร็วในการวิ่ง และการกระโจน มีนิ้วเท้า 5 นิ้วและเล็บแหลมคม
สัตว์กินเนื้อเริ่มปรากฏตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อต้นมหายุคซีโนโซอิก (อังกฤษCenozoic) หรือเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์กินเนื้อในยุคนี้ คือกลุ่มของสัตว์ที่เรียกกันว่าไมเอซิดี (อังกฤษMiacidae)[7] ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก ลักษณะลำตัวยาว มีหางสั้น มีอวัยวะที่ยื่นออกมาจากลำตัวและข้อต่อที่สามารถยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี ลักษณะของไมเอซิดีจะคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในปัจจุบันคือ จีเน็ต (อังกฤษGenets) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์จำพวกชะมด (อังกฤษCivet) มีขนาดสมองที่เล็กและกะโหลกแบน มีอุ้งเท้าที่กว้างและนิ้วเท้าที่แยกออกจากกัน อาศัยในป่าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือไวเวอร์ราวิน (อังกฤษViverravines) และไมเอซิน (อังกฤษMiachines) ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในหินที่มีอายุประมาณ 39 ล้านปี และในช่วงระยะเวลา 39 ล้านปีก่อนนี้เอง ปลายสมัยอีโอซีน (อังกฤษEocene) ซึ่งต่อกันกับสมัยโอลิโกซีน (อังกฤษOligocene) เป็นช่วงเวลาที่สัตว์กินเนื้อปรากฏขึ้นบนโลกมากมายหลากหลายชนิด กระจายถิ่นฐานตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างกว้างขวางจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองโลกแทนไดโนเสาร์ที่พึ่งจะสูญพันธุ์ไป[4]
สัตว์กินเนื้อที่เรียกว่า ไมเอซิดี คือ ไวเวอร์ราวินและไมเอซิน เป็นจุดเริ่มต้นวิวัฒนาการของสัตว์กินเนื้ออีก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ อาร์กทอยเดีย (อังกฤษArctoidea) และ แอลูรอยเดีย (อังกฤษAeluroidea) ซึ่งลักษณะของอาร์กทอยเดีย คือสัตว์กินเนื้อที่มีรูปร่างคล้ายหมี ได้แก่สัตว์จำพวกหมี แร็กคูน แมวน้ำ วอลรัส เพียงพอน (วีเซิล) หมูหริ่ง (แบดเจอร์) และหมีแพนด้า ส่วนแอรูรอยเดีย คือสัตว์กินเนื้อที่มีรูปร่างคล้ายเสือหรือแมว ได้แก่เสือหรือแมวทุกชนิด ไฮยีน่า จีเน็ตหรือสัตว์ในกลุ่มชะมดทุกชนิด ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสัตว์ประเภทไวเวอร์ราวิน ในส่วนของลักษณะโครงสร้างของร่างกาย เช่นโครงสร้างของกะโหลก ฟันและเท้าซึ่งได้รับการพัฒนาจากการปีนป่ายมาเป็นการวิ่งแทน
สำหรับสัตว์ในกลุ่มของเสือในปัจจุบันคือ ฟิลิดี หรือที่เรียกว่า "สัตว์ในกลุ่มเสือที่แท้จริง" (อังกฤษTrue Cats) ซึ่งในที่นี้รวมถึงเสือเขี้ยวดาบบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วย แต่สำหรับเสือเขี้ยวดาบนั้นไม่จัดอยู่ในกลุ่มเสือที่แท้จริงและสัตว์กินเนื้อที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายเสือ แต่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า นิมราวิดี (อังกฤษNimravidae) ซึ่งสูญพันธ์ไปจากโลกนี้เมื่อประมาณ 2 - 5 ล้านปีก่อน[8]

สัตว์ที่มีลักษณะคล้ายเสือและเสือที่แท้จริง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2488 นักโบราณชีววิทยากลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาและเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายเสืออายุประมาณ 24 - 39 ล้านปีก่อน กับซากดึกดำบรรพ์ของเสือในยุคสมัยประมาณ 25 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มนั้นมีลักษณะพื้นฐานทางกายภาพที่แตกต่างกัน จึงตั้งชื่อสัตว์ในกลุ่มแรกว่า พาลีโอฟีดิลิดส์ (อังกฤษPaleofeilds) และสัตว์ในกลุ่มสองว่า นีโอฟีลิดส์ (อังกฤษNeofelids) และต่อมาในภายหลังนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวงศ์ให้แก่สัตว์ในกลุ่มพาลีโอฟีดิลิดส์ว่า "นิมราวิดี" และสัตว์ในกลุ่มนีโอฟิลิดส์ว่า "ฟิลิดี" ซึ่งก็คือกลุ่มของสัตว์คล้ายเสือหรือลักษณะของสัตว์ในกลุ่มเสือที่แท้จริง
สิ่งที่นิมราวิดิกับฟิลิดีวิวัฒนาการมาแตกต่างกันก็คือ กล่องหู (อังกฤษAuditory Bulla) ซึ่งเป็นโครงสร้างภายในกะโหลกและเป็นที่ตั้งของหูส่วนกลาง ซึ่งโครงสร้างของหูส่วนกลางนั้นประกอบไปด้วย กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมระหว่างเยื่อแก้วหูกับหูด้านใน สัตว์ในกลุ่มแอลูรอยเดียทั้งหมดจะมีลักษณะโครงสร้างส่วนนี้คล้ายคลึงกัน ยกเว้นก็แต่เพียงสัตว์คล้ายเสือในกลุ่มนิมราวิดีเท่านั้น ซึ่งสัตว์กินเนื้อในกลุ่มแอลูรอยเดีย จะมีกล่องหูที่โป่งพองเป็นโพรงขนาดใหญ่กว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งกล่องหูมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด ความสามารถในการได้ยินก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีแผ่นเยื่อบาง ๆ (อังกฤษSeptum) ทำหน้าที่กั้นแบ่งกล่องหูเป็น 2 ห้อง แต่สัตว์ในกลุ่มนิมราวิดีจะไม่มีแผ่นเยื่อบาง ๆ ในกล่องหู ซึ่งแผ่นเยื่อบาง ๆ และกล่องหูเป็นโครงสร้างสำคัญที่ใช้แยกระหว่างสัตว์คล้ายเสือกับเสือที่แท้จริง
สัตว์คล้ายเสือในกลุ่มนิมราวิดี ส่วนมากจะมีเขี้ยวบนที่มีขนาดยาวและตัน จนมองดูเหมือนกับว่ามีลักษณะคล้ายกับดาบโค้งขนาดใหญ่ ส่วนเขี้ยวที่อยู่ด้านล่างจะมีขนาดลดลงอย่างสัมพันธ์กัน นอกจากนี้กระดูกบริเวณกรามล่างก็จะสั้นลงเพื่อป้องกันไม่ให้เขี้ยวโค้งบดเนื้อตัวเอง สำหรับฟันบริเวณด้านข้างหรือฟันกรามก็จะลดจำนวนลง และวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงจนมีลักษณะคล้ายใบมีด สัตว์คล้ายเสือที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ บาบัวโรฟีลิส (Barbourofelis) ซึ่งลักษณะของ เขี้ยวดาบ เคยปรากฏในกลุ่มเสือที่แท้จริงหรือตัวอย่างที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ สมิโลดอน (Smilodon) ซากของสมิโลดอนถูกขุดพบเป็นจำนวนมากในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีอายุประมาณ 2 ล้านปี ในขณะที่ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์กินเนื้อรูปร่างคล้ายเสือในกลุ่มนิมราวิดี ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า คืออยู่ระหว่าง 7 - 37 ล้านปี
บรรพบุรุษของเสือที่แท้จริงหรือสัตว์ในกลุ่มฟิลิดี ได้แก่ โพรไอลูรัส (Proailurus) และ ซูดีรูรัส (Pseudaelurus) เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างของระบบฟัน คล้ายกับเสือในปัจจุบันมาก โพรไอลูรัสอยู่ในสมัยโอลิโกซีน (Oligocene) พบซากดึกดำบรรพ์ในทวีปยุโรปส่วนซูดีรูรัสนั้นเป็นสัตว์ในสมัยไมโอซีน (Miocene) ซึ่งพบซากดึกดำบรรพ์ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ซึ่งทั้งสองชนิดจะมีแผ่นเยื่อบาง ๆ กั้นระหว่างกล่องหูเป็น 2 ส่วน ปัจจุบันสัตว์คล้ายเสือที่อยู่ในกลุ่มซูดีลูรัส ได้วิวัฒนาการมาเป็นเสือสกุลแพนเทอรา (Panthera) เช่น เสือโคร่ง และอย่างน้อยครั้งหนึ่งในอดีต สัตว์ในกลุ่มนี้ได้วิวัฒนาการรูปร่างและขนาดให้เล็กลง จนกระทั่งกลายมาเป็นเสือที่มีขนาดเล็กหลายชนิดหรือแมวในสกุล ฟิลิส (Felis) เช่น แมวดาว แมวป่า เป็นต้น[9]เสือแบ่งเป็นหลายชนิด ได้แก่
  • วงศ์ Felidae
    • สกุล Panthera
    • สกุล Acinonyx
    • สกุล Puma
    • สกุล Uncia
    • สกุล Neofelis
      • เสือลายเมฆบอร์เนียวNeofelis diardi (เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา)
      • เสือลายเมฆNeofelis nebulosa (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้)

        พันธุ์เสือ





        เสือโคร่ง



        Tiger

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera tigris



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        เป็นเสือชนิดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนสีเหลืองปนเทาหรือเหลืองปนน้ำตาล มีลายดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางก็มีลายดำพาดขวางเช่นกัน ดูคล้ายเป็นปล้อง ๆ ปลายหางดำ หลังหูดำและมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงทะเลแคสเปียน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค และมีชุกชุมในป่าแถบแนวเทือกเขาตะนาวศรี และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

        เสือโคร่งกินสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะหมูป่าและกวางเป็นเหยื่อที่ชอบกินมาก



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        ว่ายน้ำและขึ้นต้นไม้ได้ แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้ ชอบน้ำมากกว่าเสือชนิดอื่น วันที่อากาศร้อนแช่อยู่ในน้ำได้นานเป็นชั่วโมง

        เสือโคร่งโดยปกติไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากใจช่วงผสมพันธุ์ ปกติตัวเมียจะเป็นสัตว์ทุก 50 วัน และเป็นสัดอยู่นาน 5 วัน ซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะเข้ามาอยู่ด้วย มีระยะตั้งท้องนาน 105-110 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว



        สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



        สถานที่ชม

        สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา













        เสือโคร่งเบงกอล






        Bengal Tiger(Indian Tiger)

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pantheras tigris



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        ลำตัวมีสีเหลืองปนเทา หรือสีเหลืองปนน้ำตาล มีลายแถบปรากฏบนหลังและด้านข้างลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คางและคอเป็นสีขาว ขนเหนือตามีสีขาว และมีแถบสีดำ หางมีแถบสีดำเป็นบั้งตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ปลายหางมีสีดำ หลังหูดำ และมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ และพม่า

        เสือโคร่งเบงกอลกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะ หมูป่า และกวาง



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        เสือโคร่งจะทำการกำหนดอาณาเขตโดยการข่วนรอยไว้ตามต้นไม้ การปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อบอกอาณาเขต โดยปกติแล้วเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่จะออกล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อมันหิว และจะไม่ล่าเหยื่อที่ใหญ่กว่าตัวมันเอง เนื่องจากมีความเสี่ยง และอาจไม่ประสบความสำเร็จในการล่า สำหรับช่วงฤดูการผสมพันธุ์เสือโคร่งจะอาศัยอยู่เป็นคู่

        เสือโคร่งไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัดนานประมาณ 3-6 วัน ผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 30-36 เดือนขึ้นไป ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตั้งท้องนาน 95-105 วัน ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว และแม่เสือจะเลี้ยงลูกเสือจนโตอายุประมาณ 2 ปี จึงจะแยกจากกัน



        สถานภาพปัจจุบัน





        สถานที่ชม

        สวนสัตว์เชียงใหม่














        เสือจากัวร์






        Jaguar

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera onca



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง ขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ๆ หลังหูดำและมีจุดสีนวลที่หลังหู





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในทวีปอเมริกาใต้

        เสือจากัวร์กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง หมู ลิง นกยูง สุนัข รวมทั้งแมลง



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่ง และป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดี ไม่ชอบลงเล่นน้ำ ชอบอยู่โดดเดี่ยว จะอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์

        เสือจากัวร์มีระยะตั้งท้อง 90-105 วัน ให้ลูก 1-4 ตัว เป็นวัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีอายุ 2-3 ปี และมีอายุยืนประมาณ 22 ปี



        สถานภาพปัจจุบัน





        สถานที่ชม

        สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่











        เสือชีต้า






        Cheetah

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Acinonyx jubatus



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        เป็นเสือรูปร่างเพรียว มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขายาว มีขนหยาบสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองอมแดง ตามลำตัวมีลายเป็นจุดสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดเป็นสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามามุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น เป็นเสือที่วิ่งเร็วที่สุด สามารถวิ่งได้เร็วถึง 100-110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        มีถิ่นอาศัยอยู่ในแอฟริกา ในทะเลทรายซาฮารา แทนซาเนีย นามีเบีย ในเอเชีย พบในเอเชียไมเนอร์ เตอร์กีสถาน และอินเดีย แต่ในอินเดียปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว

        ปกติเสือชีต้าล่าเหยื่อขนาดปานกลางเช่น แอนติโลป กาเซลล์ อิมพาล่า วอเตอร์บัค สำหรับเหยื่อขนาดใหญ่อย่างม้าลาย ก็ล่าได้เช่นกัน นอกจากนี้ก็ล่ากระต่ายป่า นก รวมทั้งแพะแกะด้วย



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ปีนต้นไม้ไม่เก่ง ใช้การถ่ายปัสสาวะเป็นเครื่องกำหนดอาณาเขต ชอบล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเล็กๆ

        เสือชีต้าเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ1-8 ตัว



        สถานภาพปัจจุบัน





        สถานที่ชม

        สวนสัตว์นครราชสีมา












        เสือดาว,เสือดำ






        Leopard(Panter)

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera pardus



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        เสือดาวและเสือดำเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง ส่วนเสือดำนั้นมีขนาดและรูปร่างเหมือนเสือดาวทุกประการ แต่มีสีดำตลอดตัว





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้

        กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่งและป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่งไม่ชอบอาบน้ำอย่างเสือโคร่ง ขึ้นต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ว่องไวและดุ ปกติแล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียว จะอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกระโดดจากต้นไม้เพื่อจับเหยื่อบนพื้นดิน และลากเหยื่อขึ้นต้นไม้เพื่อกันไม่ให้สัตว์อื่นมาแย่ง

        เสือดาวและเสือดำผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดนาน 3-14 วัน ระยะตั้งท้องนาน 98-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ และมีอายุยืนราว 20 ปี



        สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



        สถานที่ชม

        สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











        เสือดาว,เสือดำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม






        Leopard(Panter)

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera pardus



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        เสือดาวและเสือดำเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง ส่วนเสือดำนั้นมีขนาดและรูปร่างเหมือนเสือดาวทุกประการ แต่มีสีดำตลอดตัว





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้

        กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่งและป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่งไม่ชอบอาบน้ำอย่างเสือโคร่ง ขึ้นต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ว่องไวและดุ ปกติแล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียว จะอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกระโดดจากต้นไม้เพื่อจับเหยื่อบนพื้นดิน และลากเหยื่อขึ้นต้นไม้เพื่อกันไม่ให้สัตว์อื่นมาแย่ง

        เสือดาวและเสือดำผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดนาน 3-14 วัน ระยะตั้งท้องนาน 98-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ และมีอายุยืนราว 20 ปี



        สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



        สถานที่ชม

        สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา














        เสือปลา






        Fishing Cat

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionailurus viverrinus



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        รูปร่างคล้ายแมวบ้านแต่ตัวโตกว่า หน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้นๆเรียงเป็นแนวตามตัว





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน เกาะสุมาตรา และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร

        กินแมลงและสัตว์เล็กต่างๆเป็นอาหาร เช่น ปู กบ เขียด นก หนู และหอย แต่ปลาเป็นเหยื่อที่เสือปลาชอบมากที่สุด



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        ชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ใกล้น้ำ หากินริมน้ำ หาปลากินโดยดักปลาที่เข้ามาหากินตามแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ เสือปลาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ลูกเสือปลาหย่านมเมื่อมีอายุเกินกว่า 6 เดือน และมีอายุยืนราว 20 ปี

        เสือปลาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ลูกเสือปลาหย่านมเมื่อมีอายุเกินกว่า 6 เดือน และมีอายุยืนราว 20 ปี



        สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



        สถานที่ชม

        สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา













        เสือไฟ






        Asiatic Golden Cat(Temminck's Cat)

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Profelis temmincki



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        รูปร่างเพรียว สูงใหญ่ขนาดสุนัขพื้นเมือง ขายาว มีขนสีน้ำตาลแกมแดง ไม่มีลายและจุดดำตามตัว แต่มีเส้นดำ 2-3 เส้นวิ่งตามยาวลงมาที่หน้าผาก ไม่มีจุดขาวที่หลังหู ด้านบนของหางมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ตรงปลายหางด้านล่างเป็นสีขาวเห็นได้ชัด เสือไฟเวลาเดินจะยกหางขึ้นข้างบน





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในธิเบต เนปาล สิกขิมตลอดจนจีนตอนใต้ พม่า ไทย และอินโดจีนจนถึงมาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทย พบทั้งในป่าผลัดใบและป่าดงดิบทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะแนวป่าทางทิศตะวันตกติดประเทศพม่าลงไปทางใต้

        เสือไฟกินสัตว์เล็กๆเช่น กระต่าย กวางเล็ก ๆ นกยูง เก้ง กิ้งก่า เป็ด ไก่



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        ชอบอยู่ตามป่าทั่วไปหรือป่าโปร่ง ปกติชอบอยู่บนพื้นดิน ไม่ชอบขึ้นต้นไม้ แต่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ดีเมื่อจำเป็น ดุเมื่อจวนตัว ถ้านำมาเลี้ยงแต่เล็กจะเชื่องง่าย

        เสือไฟสามารถเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว มีอายุยืนประมาณ 18 ปี



        สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



        สถานที่ชม

        สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา














        เสือลายเมฆ






        Clouded Leopard

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Neofelis nebulosa



        --------------------------------------------------------------------------------



        ลักษณะทั่วไป

        ตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียวและมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆ หูด้านในมีสีอ่อน ด้านนอกเป็นสีเข้มและมีจุดขาวที่หลังหู หน้าผากมีจุดสีเข้มหลายจุด หางยาวใหญ่มากและมีจุดตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่





        ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบในเนปาล สิกขิมไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน ลงมาถึงพม่า ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค

        เสือลายเมฆกินสัตว์เล็กเช่น นก งู ลิง ค่าง จนถึงลูกสัตว์ใหญ่



        พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

        ชอบอยู่และหากินบนต้นไม้มากกว่าบนพื้นดิน มักนอนบนกิ่งไม้เพื่อกระโดดลงมาจับสัตว์กิน หากินเวลากลางคืน มักอยู่เป็นคู่ช่วยกันล่าเหยื่อ

        เสือลายเมฆเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2-3 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 5 เดือน มีอายุยืนราว 17 ปี



        สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



        สถานที่ชม

        สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา