จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สีผมแต่ละบุคคลิก

หากจะลองทำสีผม  ต้องดูว่าเราจะเลือกยาย้อมผมแบบถาวรหรือกึ่งถาวร
  - สีผมแบบถาวร    จะติดอยู่ทนนาน และสามารถทำให้สีผมของเราเปลี่ยนไปจากเดิม โดยสิ้นเชิง จากดำเป็นแดง เป็นม่วง เป็นน้ำตาล ได้อย่างใจต้องการ   เพราะสารแอมโมเนีย ไฮโดรเจน และเม็ดสีสังเคราะห์ จะไปทำปฎิกิริยากับโครงสร้างเส้นผม ให้เม็ดสีผมตามธรรมชาติอ่อนลง                                                
 - สีผมแบบกึ่งถาวร    จะไม่มีสารไปปรับโครงสร้างเส้นผม เพียงแค่แทรกซึมสู่เส้นผม จางไปเมื่อสระผม 6-8 ครั้ง หรือนานหน่อยก็แบบ 25-30 ครั้ง  ซึ่งจะไม่ได้สีผมที่เปลี่ยนไปมากมาย แต่จะได้ประกายผมสีใหม่เพิ่มขึ้นมา
 - สำหรับมือใหม่ที่กล้าๆ กลัวๆ ให้ลองแบบกึ่งถาวร   ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ ก่อน สีผมที่ปรับจากสีเข้มๆอย่างดำหรือน้ำตาลเข้ม จะช่วยทำให้ใบหน้าดูอ่ออนหวานขึ้น แต่ก่อนจะลองให้พิจารณาผิวของเรากันก่อน จะได้ดูกลมกลืน
 เลือกสีผมให้เข้ากับสีผิว        
 - ผิวขาว เป็นผิวที่น่าอิจฉาที่สุดค่ะ เพราะสามารถทำได้ทุกสี อย่างใจต้องการเลยนะค่ะ                  
ผิวสองสี  ใช้ได้ทุกสี ใช้ออกแดงนิดๆ เช่นไวน์แดง แต่จะเหมาะกับผมสีแบบน้ำตาลมะฮอกกานี ซึ่งจะดูกลมกลืนกับสีผิวที่สุด จะทำให้ดูสง่าขึ้นหรือทำ  สีบลอนด์ สีออกทอง ก็จะทำให้ดูผิวสว่างขึ้น หากเลือกสีไวนืเราะจะทำให้ดูใบหน้าเข้มไป                                                
ผิวคล้ำ  เหมาะกับสีทองแดง สีออกทอง และเอิร์ธโทนที่จะช่วยดึงให้ผิวคล้ำ สว่างขึ้นมา ถ้าเลือกสีออกแดง จะยิ่งทำให้ผิวคล้ำเข้มมากขึ้น
 เสื้อผ้ากับสีผม                                                                                            
ผมโทนสีม่วง  ถ้าใส่เสื้อสีออกแดงเลือดนก แดงม่วง ชมพู ออกม่วงจะช่วยให้สีผมดูสวยขึ้นและกลมกลืน รวมทั้งสีโทนเย็นอย่างเย็น หรือน้ำเงิน                                             
ผมโทนสีแดง เหมาะกับเสื้อผ้าโทนอุ่นทั้งหลาย อย่างสีน้ำตาล  สีส้ม
ผมสีบลอน์อมเทา  เป็นผมสีออกบลอนด์ที่ดูนุ่มๆ ไม่ร้อนแรง เป็นสีโทน จะเหมาะกับเสื้อผ้าสีโทนเย็น
  เคล็ดลับสำหรับสีผม
  1.ถ้าไปหาช่างผม บอกความต้องการและบอกว่าบุคลิกของเราเป็นยังไง เปรี้ยวเข๋ดฟันมากต้องมองด้วยว่าคนรอบข้างเราจะรับได้ไหม ลองเทียบสีผมตัวอย่างกับใบหน้า หรือลองทำดูปอยเล็กๆสักปอยหนึ่งก่อน
  2. สีผม  มีตั้งแต่ระดับ 1 (ดำสนิท) ถึง 10 (สีบลอนด์อ่อนสุด) คนไทยอยู่ราวๆ 3-4 อย่าเลือสีระดับเดียวกับสีผมตัวเอง เพราะจะไปเพิ่มให้ผมที่เข้มจะเข้มขึ้นไปอิก
  3. การทำไฮไลท์  คือ ทำบางกระจุกผมควรเลือกช่างมีฝีมือ ไม่งั้นออกมาไม่สวยแทนที่จะดูแซมสลับเพียงช่อเล็กๆ ก็จะดูเป็นปึกๆ
  4.ควรดัดผมก่อนทำสี  หรือดัดหลังจากทำสี 1 สัปดาห์ ไม่งั้นสีผมจะหลุดออกและเป็นการทำร้ายผมอย่างมาก
  5. เมื่อทำสีผมแล้ว ต้องดูแลผมด้วยการใช้แชมพูและคอนดิชั่นเนอร์สำหรับผมทำสี และการบำรุงด้วยทรีทเม้นต์ชนิดไม่ต้องล้างออกพอกมารค์ที่มีโปรตีนบำรุงบ้าง หรืออบไอน้ำอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่ได้สนใจกับการทำสีผมที่ทำมา เตรียม       ตัวเป็นผมแห้งและกระเซิงได้
  6. อายุที่เพิ่มขึ้น ผิวพรรณจะซีดลง ควรเลือกสีผมระดับกลางๆ มากกว่าเข้มหรืออ่อน สีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมแดง จะช่วยให้สดใสขึ้น
  7. จำไว้ว่า การสระและล้างผมด้วยน้ำอุ่น ช่วยถนอมสีผม
  8. ก่อนทำสีผม ใช้ทรีตเมนต์ให้ความชุ่มชื่นและให้โปรตีนอย่างลึกล้ำ เพื่อช่วยให้ผมไม่แห้งกรอบ
  9. ไม่ควรเปลี่ยนสีผมบ่อย  ถ้าทำเข้มไปอยากให้สว่างกว่าเดิมแล้วใช้น้ำยากัดสี จะทำให้ผมเสียต้องดูแลกันหนัก ทางที่ดีคิดให้รอบคอบก่อนเลือกสีนะค่ะ

  10. ถ้าทำสีเพือปิดผมขาว ควรเติมสีตรงโคนผมเดือนละครั้งหรือสองเดือนครั้งผมสร้างบุคลิก (Momy Pedia)

โดย พริบพราย

           หากลองทำสีผมบ้าง ต้องดูว่าจะเลือกยาย้อมผมแบบถาวรหรือกึ่งถาวร
           เดี๋ยวนี้ผู้หญิงกล้าหาญชาญชัยกับการทำ สีผมมากขึ้นค่ะ แค่กวาดตามองไปบนถนน เรายังพบเห็นสาวผมสีต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งที่ดูมีบุคลิกขึ้น และ บั่นทอนบุคลิก

      หากจะลองทำสีผมบ้าง ต้องดูว่าเราจะเลือกยาย้อมผมแบบถาวรหรือกึ่งถาวร

            สีผมแบบถาวร จะอยู่ติดทนนาน และสามารถทำให้สีผมของเราเปลี่ยนจากเดิมไป โดยสิ้นเชิง จากดำเป็นแดง เป็นม่วง เป็นน้ำตาล ได้อย่างที่นึกสนุก เพราะสารแอมโมเนีย ไฮโดรเจน และเม็ดสีสังเคราะห์ จะไปทำปฏิกิริยากับโครงสร้างเส้นผม ให้เม็ดสีผมตามธรรมชาติอ่อนลง

            สีผมแบบกึ่งถาวร จะไม่มีสารไปปรับโครงสร้างเส้นผม เพียงแต่แทรกซึมสู่เส้นผม จางไปเมื่อสระผม 6-8 ครั้ง หรือนานหน่อยก็แบบ 25-30 ครั้ง ซึ่งจะไม่ได้สีผมที่เปลี่ยนไปมากมาย แต่ได้ประกายผมสีใหม่เพิ่มขึ้นมา

            สำหรับมือใหม่ที่กล้า ๆ กลัว ๆ ให้ลองแบบกึ่งถาวร ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนดีไหมคะ สีผมที่ปรับจากสีเข้ม ๆ อย่างดำหรือน้ำตาลเข้ม จะช่วยทำให้ใบหน้าดูอ่อนหวานขึ้น แต่ก่อนจะลองให้พิจารณาผิวของเรากันก่อน จะได้ดูกลมกลืน ไม่อัลเตอร์ หลุด โลกกระชากวัยเกินไป


      เลือกสีผมให้เข้ากับสีผิว

            ผิวขาว น่าอิจฉาค่ะ ใช้ได้ทุกสีตามความชอบ

            ผิวสองสี ใช้ได้ทุกสี ใช้สีออกแดงนิด ๆ เช่นแดงไวน์ สีแดงเบอร์กันดีได้ แต่จะเหมาะกับสีแบบน้ำตาลมะฮอกกานี ซึ่งจะกลมกลืนกับสีผิวที่สุด จะทำให้ดูสง่าขึ้นหรือทำสีบลอนด์ สีออกทอง ก็จะช่วยให้ผิวดูสว่างขึ้น หากเลือกสีม่วงไวน์เพราะจะทำให้ดูใบหน้าเข้มไป

            ผิวคล้ำ เหมาะกับสีทองแดง สีออกเหลือง และเอิร์ธโทนที่จะช่วยดึงให้ผิวสีคล้ำ สว่างขึ้นมา ถ้าเลือกสีออกแดง จะยิ่งทำให้ผิวคล้ำเข้มมากขึ้น


      เสื้อผ้ากับสีผม
            ผมโทนสีม่วง ถ้าใส่เสื้อสีออกแดงเลือดนก แดงม่วง เบอร์กันดีไวน์ ชมพู ออกม่วงจะช่วยให้สีผมดูสวยขึ้นและกลมกลืน รวมทั้งสีโทนเย็นอย่างฟ้า หรือน้ำเงิน

            ผมโทนสีแดง เหมาะกับเสื้อผ้าโทนอุ่นทั้งหลาย อย่างสีน้ำตาล สีส้ม

            ผมสีบลอนด์อมเทา เป็นผมสีออกบลอนด์ที่ดูนุ่ม ๆ ไม่ร้อนแรง เป็นสีโทนเย็น จะ เหมาะกับเสื้อผ้าสีโทนเย็นค่ะ


       เคล็ดลับสำหรับสีผม

            1. ถ้าไปหาช่างผม บอกความต้องการและบอกด้วยว่าบุคลิกของเราเป็นอย่างไร เปรี้ยวเข็ดฟันมากแล้วลูกสามีรับไม่ได้หรือเปล่า ลองเทียบสีผมตัวอย่างกับใบหน้า หรือลองทำดูปอยเล็กๆสักปอยหนึ่งก่อน

            2. สีผม มีตั้งแต่ระดับ 1 (ดำสนิท) ถึง10 (สีบลอนด์อ่อนสุด) คนไทยอยู่ราวๆ 3-4 อย่าเลือกสีระดับเดียวกับสีผมตัวเอง เพราะสีจะไม่ตรงกับที่เห็น แต่จะไปเพิ่มให้ผมเราที่ เข้มอยู่แล้วเข้มขึ้นไปอีก

            3. การทำไฮไลต์ คือทำบางกระจุกผม ควรเลือกช่างมีฝีมือ ไม่งั้นจะออกมาไม่ สวย แทนที่จะดูแซมสลับเพียงช่อเล็ก ๆ ก็จะดูเป็นปึก ๆ

            4. ควรดัดผมก่อนทำสี หรือดัดหลังทำสี 1 สัปดาห์ ไม่งั้นสีผมจะหลุดออก...และเป็นการทำร้ายผมอย่างไม่น่าให้อภัย

            5. เมื่อทำสีผมแล้ว ต้องดูแลผมด้วยการใช้แชมพูและคอนดิชันเนอร์สำหรับผมทำสี และบำรุงด้วยทรีทเมนต์ชนิดไม่ต้องล้างออกก็ได้ พอกมาส์กที่มีโปรตีนบำรุงบ้าง หรืออบไอ น้ำอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่ได้ดูดำดูดีเลย ก็เตรียมตัวเป็นคุณแม่ผมแห้งกระเซิงได้

            6. อายุที่เพิ่มมากขึ้น ผิวพรรณจะซีดลง ควรเลือกสีผมระดับกลางๆ มากกว่าเข้ม หรืออ่อน สีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมแดง จะช่วยให้สดใสขึ้น

            7. จำไว้ว่า การสระและล้างผมด้วยน้ำอุ่น ช่วยถนอมสีผม

            8. ก่อนทำสีผม ใช้ทรีทเมนต์ให้ความชุ่มชื้นและให้โปรตีนอย่างล้ำลึก เพื่อช่วยให้ผม ไม่แห้งกรอบ

            9. ไม่ควรเปลี่ยนสีผมบ่อย ถ้าทำเข้มไปอยากให้สว่างกว่าเดิม แล้วใช้น้ำยากัดสี จะทำให้ผมเสีย ต้องดูแลกันหนัก ทางที่ดีคิดให้รอบคอบก่อนเลือกสีนะคะ หรือถ้าพลาด ไป...ก็ถือเสียว่า ได้คุณคนใหม่ที่ยังเป็นแม่และเมียแสนดีดังเดิม...

            10. ถ้าทำสีเพื่อปิดผมขาว ควรเติมสีตรงโคนผมเดือนละครั้งหรือสองเดือนครั้ง

แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน
ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้
แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว่า

แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ[แก้]

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์[แก้]

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น
  • การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ เขื่อนฮูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เขื่อนการิบา ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 เขื่อนครีมัสต้า ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจากเขื่อนคอยน่า ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน[1]
  • การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้
  • การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้
  • การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้

    การวัดและหาตำแหน่งแผ่นดินไหว[แก้]

    ดูบทความหลักที่: คลื่นไหวสะเทือน
    คลื่นแผ่นดินไหว หรือคลื่นไหวสะเทือน (อังกฤษseismic waves) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
    1. คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
      • คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ
      • คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง
    2. คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด
      • คลื่นเรลีย์ (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลงอ

        ขนาดและความรุนแรง[แก้]

        ขนาดของแผ่นดินไหว หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ตัวอย่างสูตรการคำนวณขนาดแผ่นดินไหวแบบท้องถิ่น (ML-Local Magnitude) ซึ่งคิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ มีสูตรการคำนวณในยุคแรกดังนี้

        กำหนดให้
        M = ขนาดของแผ่นดินไหว (แมกนิจูด)
        A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด
           = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์
        โดยขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อยพลังงานมากกว่า 32 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่นแผ่นดินไหวแมกนิจูด 5 จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าแมกนิจูด 4 ราว 32 เท่า เป็นต้น
        สูตรของขนาดแผ่นดินไหวยังมีอีกมากมายหลายสูตร แต่ละสูตรจะมีใช้วิธีวัดและคำนวณแตกต่างกันออกไป เช่น mb วัดจากคลื่น body wave หรือ MS วัดจากคลื่น surface wave เป็นต้น โดยมาตราวัดขนาดโมเมนต์ 

        ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (อังกฤษIntensity) ต่างจากขนาดแผ่นดินไหว เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผู้สังเกตว่าห่างมากน้อยเพียงใด ความเสียหายจะเกิดมากที่สุดบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและค่อยๆลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุนแรงมีหลายมาตรา เช่น มาตราชินโดะ มาตราเมร์กัลลี เป็นต้น
        เรียงลำดับ : ความสัมพันธ์กับเนื้อหา | ล่าสุดก่อน | เก่าที่สุดก่อน รายการที่ 1 ถึง 30 จากทั้งหมด 2,855 รายการ เวลาการค้น 0.04 วินาที ระทึก แผ่นดินไหวหรือ Mw จะเป็นมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวที่วัดได้แม่นยำที่สุดโดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดใดๆ

        ผลกระทบ[แก้]

        ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
        ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "สึนามิ" (ญี่ปุ่น津波, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล

        การป้องกันความเสียหาย[แก้]


        ที่ว่างกลางเมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น สามารถใช้หลบภัยจากแผ่นดินไหว และการพังถล่มของตึก
        ในปัจจุบันมีการสร้างอาคาร ตึกระฟ้าใหม่ ๆ บนหินแข็งในเขตแผ่นดินไหว อาคารเหล่านั้นจะใช้โครงสร้างเหล็กกล้าที่แข็งแรงและขยับเขยื้อนได้ มีประตูและหน้าต่างน้อยแห่ง บางแห่งก็มุงหลังคาด้วยแผ่นยางหรือพลาสติกแทนกระเบื้อง ป้องกันการตกลงมาของกระเบื้องแข็งทำให้ผู้คนบาดเจ็บ ถนนมักจะสร้างให้กว้างเพื่อว่าเมื่อเวลาตึกพังลงมาจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร และยังมีการสร้างที่ว่างต่าง ๆ ในเมือง เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งผู้คนสามารถจะไปหลบภัยให้พ้นจากการถล่มของอาคารบ้านเรือนได้

        ชาวโรมันโบราณเชื่อว่าเทพวัลแคน ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด

        ความเชื่อในสมัยโบราณ

        คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เกิดจากฝีมือของเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวโรมันโบราณคิดว่าเทพเจ้าที่ชื่อว่า วัลแคน อาศัยอยู่ในภูเขาไฟ เทพองค์นี้ทรงเป็นช่างตีเหล็กให้กับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เมื่อใดที่มีควันและเปลวไฟพุ่งออกมาจากภูเขาไฟ ชาวโรมันก็คิดว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังติดไฟในเตาหลอมอยู่ และเมื่อแผ่นดินสั่นสะเทือนก็หมายถึงว่าเทพเจ้าวัลแคนกำลังตีเหล็กหลอมอยู่บนทั่ง
        ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้าองค์หนึ่ง มีชื่อว่า โพไซดอน เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว เทพเจ้าโพไซดอนมีรูปร่างขนาดใหญ่ เมื่อพิโรธก็จะกระทืบเท้า ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ส่วนชาวฮินดูในประเทศอินเดียเชื่อว่าโลกของเราตั้งอยู่บนถาดทองคำซึ่งวางอยู่บนหลังช้างหลายเชือกติดกัน เมื่อใดที่ช้างเคลื่อนไหว โลกก็จะสั่นสะเทือนไปด้วย และเกิดเป็นแผ่นดินไหว ส่วนคนญี่ปุ่นเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า มีปลาดุกยักษ์อยู่ใต้พื้นดิน และเมื่อใดที่ปลาดุกยักษ์พลิกตัวหรือขยับเขยื้อนแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว[2]ความเชื่อของคนไทยโบราณคล้ายคลึงกับคนญี่ปุ่นแต่เปลี่ยนเป็นปลาอานนท์ใต้เขาพระสุเมรุพลิกตัว


งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]
โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น[2] ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด
สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
  1. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
  2. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต.

ประเภท[แก้]

ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานงูออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 18 วงศ์ 443 สกุล ประมาณ 2,700 ชนิด อยู่ในอันดับฐานหรืออันดับย่อย 2 อันดับ ซึ่งจำนวนชนิดนั้นยังไม่แน่ไม่นอน เนื่องจากมีการค้นพบชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี
งูมีขนาดแตกต่างหลากหลายออกกันไปตั้งแต่ยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตรดูแลคล้ายไส้ดินสอดำหรือไส้เดือนดิน จนถึงยาวกว่า 10 เมตร น้ำหนักนับ 100 กิโลกรัม[3]

วิวัฒนาการ[แก้]

งูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมาจาก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในน้ำ อาศัยชีวิตบนบกบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ทางด้านสายของการวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในชั้น Reptilia ที่แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ เต่าชนิดต่าง ๆ (Turtles และ Tortoises)
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ จระเข้ (CrocodilesAlligators และ Gavial)
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ ตัว Tuatara ของนิวซีแลนด์
สามารถแบ่งลำดับของสัตว์เลื้อยคลานใน ลำดับ Squamata ได้ 3 อันดับย่อยด้วยกัน ดังนี้
  1. อันดับย่อย Lacertilia ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งจก (Lizards) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 3,000 ชนิด
  2. อันดับย่อย Amphisbaenia มีจำนวนประมาณ 130 ชนิด
  3. อันดับย่อย Serpentes ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทงู (Snakes) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 2,700 ชนิด

    ลักษณะทั่วไป[แก้]

    ระบบภายนอก[แก้]


    ลักษณะภายนอกของงู
    อวัยวะภายนอก
    ลักษณะภายนอกของงูโดยทั่วไป มีอวัยวะประกอบด้วย [4]
    • ลำตัว งูมีลำตัวที่คล้ายหลอดกลมยาว ไม่มีแขน ขา หรือใบหู ลำตัวมีเกล็ดปกคลุมโดยตลอด
    • ตา งูไม่มีเปลือกตาที่สามารถกะพริบได้เช่นตาคน ดังนั้นจึงดูเสมือนว่ามันไม่เคยนอน แต่จริงๆ แล้วงูนอน ในเวลาที่มันนอน รูตาดำ (pupil) ในตาของมันจะหดตัว พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อที่ควบคุมตาจะหย่อน ทำให้ตางูดูเสมือนว่าพลิกคว่ำ บางชนิดมีสายตาไม่ดี
    • ปาก กล้ามเนื้อในปากสามารถยืด-ขยายได้ ทำให้สามารถอ้าปากได้กว้างกว่าขนาดหัวของมันได้หลายเท่าตัว
    • ลิ้น งูสามารถแลบลิ้นออกมาจากปากที่ปิดสนิทได้ ซึ่งงูมีลิ้น 2 แฉก เพื่อใช้แสวงหาทิศทางของกลิ่นต่าง ๆ
    • หาง หางของงูมีลักษณะที่ลดหลั่นขนาดลงมาจากลำตัว มีลักษณะเล็กกลมยาว ปลายแหลม

    ระบบภายใน[แก้]

    อวัยวะของงูส่วนใหญ่จะอยู่ในซี่โครงยาว ๆ ทั้งระบบการหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์[5]
    โครงสร้างภายใน

    อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายของงู 1.หลอดอาหาร 2.หลอดลม 3.ปอดข้างขวา-ข้างซ้าย 4.ปอดข้างซ้าย 5.ปอดข้างขวา 6.หัวใจ 7.ตับ 8.กระเพาะอาหาร 9.ถุงลม 10.ถุงน้ำดี 11.ตับอ่อน 12.ม้าม 13.ลำไส้ 14.ลูกอัณฑะ 15.ไต
    โครงสร้างของกระดูก ประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง ซี่โครง กระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังที่มากช่วยทำให้งู โค้ง หรืองอตัวได้ดี และมีความแข็งแรงสูงทำให้งูสามารถออกแรงบังคับกล้ามเนื้อบีบรัด โครงกระดูกสันหลังจะไม่เชื่อมต่อกับช่องท้อง มันจึงขยายตัวได้ง่ายเมื่อกินเหยื่อขนาดใหญ่
    ระบบหายใจ
    งู หายใจเข้าและออก โดยผ่านปาก และหลอดลม เชื่อมกับปอดที่อยู่ด้านขวาข้างเดียว ยกเว้น พวก Boa และ Python ที่มีปอดซ้ายด้วย ช่วยในการหายใจ โดยปกติงูจะมีปอดขวาที่ใหญ่ โดยเฉพาะพวกงูน้ำ จะมีปอดข้างขวาใหญ่เป็นพิเศษ ช่วยควบคุมการลอยตัวน้ำได้ แต่งูบางสายพันธุ์ที่มีปอดด้านซ้าย ที่เชื่อมต่อกับปอดขวาจะทำให้งูชนิดนั้น เก็บอากาศได้มากว่าปกติ เมื่อต้องขยอกเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถหายใจได้ในเวลานั้น ทำให้มันสามารถกั้นหายใจได้นาน
    ระบบการไหลเวียนโลหิต
    ระบบการไหลเวียนโลหิตของงูเหมือนกับสัตว์ทั่ว ๆ เว้นแต่หัวใจมันมี 3 ห้องแทนที่จะมี 4 ห้อง
    ระบบการย่อยอาหาร
    กระบวนการย่อยอาหารของงูเริ่มจากที่ปาก เมื่องูกินเหยื่อก็จะขับน้ำย่อยออกมา งูบางชนิดที่มีพิษ มันจะขับพิษออกมาฆ่าเหยื่อ ลำคอและหลอดอาหารของมัน มีกล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยขับดัน อาหารไปยังกระเพาะที่มีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้ดี ลำไส้ของมันจะมีขนาดใหญ่เป็นคด ๆ อาหารที่ไม่ย่อยจะถูกขับออกมาทางทวาร
    ระบบขับเหงื่อ
    งูไม่มีกระเพาะปัสสวะ ดังนั้นชองเสียจึงถูกกรองผ่านไต และขับกรดปัสสวะออกมา โดยเก็บน้ำใช้ไตกรองน้ำ เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้งูในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้ 2 ประเภท คือ งูมีพิษและงูไม่มีพิษ ซึ่งงูที่มีพิษนั้นมีอยู่ไม่กี่ชนิด ในขณะที่งูไม่มีพิษนั้นสามารถพบได้จำนวนมากกว่า และมีหลายหลายสายพันธุ์ (ในประเทศไทยพบงูประมาณ 300 สายพันธุ์ เป็นงูไม่มีพิษ 90%)
    งูมีพิษในประเทศไทย
    งูมีพิษในประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 7 สายพันธุ์หลักดังนี้
    1. งูจงอาง
    งูจงอาง เป็นงูมีพิษขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวยาว 3-5 เมตร มีพิษร้ายแรงและปริมาณน้ำพิษมาก สามารถกัดคนและสัตว์ทุกชนิดให้ตายได้ในเวลาไม่กี่นาที งูจงอางสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของไทย และเป็นงูประเภทกินงูด้วยกันเป็นอาหาร
    2. งูเห่า
    เป็นงูขนาดกลาง ความยาว 1-2 เมตร ปริมาณน้ำพิษน้อยแต่มีพิษร้ายแรงมาก โดยพิษจะเข้าไปทำลายระบบประสาท ผู้ถูกกัดจะมีอาการง่วงซึม อยากหลับ ถ้าหลับก็จะไม่ตื่นอีกเลย ผู้ที่ถูกงูเห่ากัดถ้าไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว มักจะเสียชีวิตทุกราย งูเห่าเป็นงูที่พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ
    3. งูสามเหลี่ยม
    งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง เป็นงูพิษที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ลำตัวยาว 1-2 เมตร ลำตัวมีลักษณะท้องแบนและเป็นสันด้านหลัง ทำให้มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) พบมากในภาคใต้ของไทย (ภาคอื่นพบไม่มากนัก) กินสัตว์เล็กๆพวก นก หนู กบ เขียด เป็นอาหาร
    4. งูแมวเซา
    เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลักษณะลำตัวอ้วนป้อม ลำตัวสั้น (เมื่อโตเต็มที่จะยาวเพียง 1-1.5 เมตร) เมื่ออยู่ในลักษณะตื่นตัวมันจะสูบลมเข้าไปจนลำตัวพอง ทำเสียงร้องเหมือนแมวและส่งเสียงขู่ตลอดเวลา สามารถฉกกัดได้เร็วมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการเลือดไม่แข็งตัวและเลือดไหลไม่หยุด เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน และเสียชีวิต งูแมวเซาสามารถพบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย
    5. งูกะปะ
    งูกะปะเป็นงูพิษที่พบได้ทุกภาคของไทย โดยเฉพาะในภาคใต้ มีลำตัวอ้วนสั้น คอเล็กแต่หัวโต เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1 เมตรเท่านั้น กินสัตว์เล็กๆพวกนห หนู กบ เขียน เป็นอาหาร จัดเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดของไทย ผู้ที่ถูกกัดจะเกิดอาการบวมไปทั้งตัว เลือดไหลไม่หยุด บริเวณที่ถูกกัดจะบวมเขียวและเน่า และเสียชีวิตในที่สุด
    6. งูเขียวหางไหม้
    งูเขียวหางไหม้ (Green pit viper) จัดเป็นงูพิษชนิดไม่รุนแรง กัดแล้วไม่ตาย พบได้ทั่วไปและมีหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย มีลำตัวอวบสั้น ผิวลำตัวมีสีเขียวอมเหลือง หางสีแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม (เป็นที่มาของชื่อ) เป็นงูที่เคลื่อนไหวช้า มีนิสัยดุร้ายฉกกัดได้เร็ว ผู้ถูกกัดจะเจ็บปวดที่แผลมาก มีอาการบวมอยู่ 2-5 วัน จากนั้นแผลจะยุบและหายเป็นปกติ
    7. งูทะเล
    งูทะเลเป็นกลุ่มงูที่อาศัยอยู่ในทะเล กินปลาเป็นอาหาร และแทบทุกชนิดเป็นงูพิษ สามารถพบได้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย งูทะเลที่พบมากในประเทศไทยคือ งูสมิงทะเลปากดำ ซึ่งเป็นงูทะเลที่มีพิษร้ายแรงมาก พบผู้กัดเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ งูทะเลประเภทอื่นๆที่พบในประเทศไทย เช่น งูผ้าขี้ริ้ว งูคออ่อน งูแสม งูฝักมะรุ
    งูไม่มีพิษในประเทศไทย
    งูไม่มีพิษในประเทศไทยนั้นมีอยู่มากมายประมาณ 300 สายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็ไม่กัดหรือทำอันตรายคน แต่บางสายพันธุ์ก็กัดได้ถ้าถูกรบกวน ตัวอย่างงูไม่ไมีพิษในประเทศไทยได้แก่ งูเขียวชนิดต่างๆ งูปากจิ้งจก งูงวงช้าง งูสิง งูแส้หางม้า งูกระด้าง งูปลิง งูแสงอาทิตย์ งูลายสาบ งูดิน งูก้นขบ งูปล้องชนิดต่างๆ งูทางมะพร้าว งูกินปลา งูเหลือม และงู

    เมื่อถูกงูกัดต้องทำอย่างไร
    ถึงแม้ว่างูในประเทศไทยจะเป็นงูไม่มีพิษเสียเป็นส่วนใหญ่ มีงูพิษอยู่ไม่กี่ชนิด แต่ถ้าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องงู ย่อมต้องระมัดระวังเรื่องการโดนงูกัด แต่เมื่อโดนงูกัด สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้
    1. รีบหางูที่กัดให้เจอ จำเป็นต้องตีให้ตายไว้ก่อนเพื่อนำไปให้แพทย์ดู
    2. เค้นเลือดบริเวณที่โดนกัด ให้เลือดจากแผนถูกกัดออกมามากที่สุด (ห้ามใช้ปาดดูดเด็ดขาด)
    3. ใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือแผลที่ถูกกัด เพื่อชะลอไม่ให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจ
    4. รีบพาผู้ถูกกัดไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และพยายามไม่ให้ผู้ถูกกัดหลับ
    5. ห้ามให้ผู้ถูกกัดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น
    วิธีป้องกันการไม่ให้โดนงูกัด
    1. หลีกเลี่ยงการเดินไปที่รกทึบและมืด ถ้าจำเป็นให้ใช้ไม้ยาวๆเคาะนำไปก่อน
    2. หมั่นตัดหญ้าในบริเวณบ้านให้สั้นเตียน เนื่องจากงูไม่ชอบอยู่ในที่โล่ง
    3. นำตาข่ายมาปิดช่องระบายน้ำ เพื่อป้องกันหนูออกมาจากท่อ หนูจะเป็นตัวล่อให้งูเข้าบ้านได้ง่าย
    4. ถ้าจำเป็นต้องเข้าป่าหรือที่รกทึบ ให้ใส่ร้องเท้าหนาๆ หลีกเลี่ยงการยึดจับต้นไม้ กองใบไม้หรือเนินดิน
    โดยธรรมชาติของงูแทบทุกชนิดนั้น จะเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบเผชิญหน้ากับคน มักจะคอยเลื้อยหนีอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายทำให้เขาตกใจหรือเดินไปเหยียบงูเข้า งูจะฉกกัดทันที ซึ่งเป็นสัญชาตญาณการป้องกันตัวของงูนั่นเอง